ข้อมูลทั่วไป เทศบาลตำบลปทุมราชวงศา เดิมใช้ชื่อว่า เทศบาลตำบลนาหว้าใหญ่ และเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 มีพื้นที่ประมาณ 7.00 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาหว้าและตำบลนาป่าแซง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอำนาจเจริญ 32 กิโลเมตร มีถนนอรุณประเสริฐทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2252 เส้นทางตำบลนาหว้า ถึงอำเภอกุดข้าวปุ้น
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลนาป่าแซงอำเภอปทุมราชวงศา
เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล ชื่อว่า สุขาภิบาลนาหว้าใหญ่ และยกฐานะเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นมา แบ่งเขตการปกครองทั้งหมด 5 หมู่บ้าน 7 ชุมชน ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 ชุมชนรุ่งอรุณ, ชุมชนตั้งใจพัฒนา
หมู่ที่ 2 ชุมชนหลักเมือง, ชุมชนหลานเจ้าปู่
หมู่ที่ 3 ชุมชนแก้วมงคล
หมู่ที่ 4 ชุมชนสหกรณ์พัฒนา
หมู่ที่ 5 ชุมชนนาถาวร
แบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ส่วนประกอบด้วย
1. สำนักปลัด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป งานส่งเสริมการเกษตร งานการเจ้าหน้าที่ งานธุรการ งานสารบรรณ งานเลขา งานรัฐพิธี งานทะเบียนราษฎร์ งานบัตรประจำตัวประชาชน การประชุมสภาเทศบาล การจัดทำทะเบียนสมาชิกสภาเทศบาล คณะผู้บริหาร งานการเลือกตั้ง การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การให้คำปรึกษาหน้าที่และความรับผิดชอบ การปกครองบังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างทั้งหมด และราชการทั่วไปของเทศบาล และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง หรือส่วนราชการใดในเทศบาล โดยเฉพาะรวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเทศบาล ให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของเทศบาล แบ่งส่วนราชการภายในดังนี้
1.1 ฝ่ายอำนวยการ
1.1.1 งานบริหารงานทั่วไป
1.1.2 งานส่งเสริมการเกษตร
1.1.3 งานการเจ้าหน้าที่
1.1.4 งานรักษาความสงบ
1.1.5 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.1.6 งานเทศกิจ
1.1.7 งานธุรการกอง
1.1.8 งานสารบรรณกลาง
1.1.9 งานรัฐพิธี
1.1.10 งานกิจการสภา
1.2 ฝ่ายปกครอง
1.2.1 งานทะเบียนราษฎร
1.2.2 งานบัตรประจำตัวประชาชน
1.3 ฝ่ายนโยบายและแผนงานงบประมาณ
1.3.1 งานรวบรวมวิเคราะห์และให้บริการข้อมูลสถิติที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการวางแผนและการประเมินผลตามแผนทุกระดับ
1.3.2 งานจัดเตรียมเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณาวางแผนของเทศบาลและหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
1.3.3 งานวิเคราะห์และพยากรณ์การเจริญเติบโตของประชากรในเขตเมืองและความพอเพียงของบริการสาธารณูปโภคหลัก
1.3.4 งานวิเคราะห์และคาดคะเนรายได้ – รายจ่าย ของเทศบาลในอนาคต
1.3.5 งานจัดทำและเรียบเรียงแผนพัฒนา การกำหนดเค้าโครงของแผนพัฒนาระยะปานกลางและแผนประจำปี
1.3.6 งานวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการเพื่อสนองหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
1.3.7 งานประสานงานกับหน่วยงานในเทศบาลและหน่วยงานอื่นที่เสนอบริการสาธารณูปการในเขตเทศบาลและหน่วยงานใกล้เคียงเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนา การปฏิบัติตามแผนและการประเมินผลงานตามแผน
1.3.8 งานอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.4 ฝ่ายบริการประชาชนและรับเรื่องราวร้องทุกข์
1.4.1 รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน
1.4.2 สำรวจและรายงานผลการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุปัจจัยต่างๆ
1.5 ฝ่ายพัฒนาชุมชน
1.5.1 งานสังคมสงเคราะห์
1.5.2 งานสวัสดิการเด็กและเยาวชน
1.5.3 งานกิจการสตรี เด็ก เยาวชน และคนชรา
1.5.4 งานพัฒนาชุมชนเมือง
1.5.5 งานส่งเสริมอาชีพ
1.5.6 งานสร้างความเข็มแข็งชุมชน
1.5.7 งานธุรการกอง
1.5.8 งานสารบรรณกอง
2. กองคลัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ เงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆการจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆการควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับพัสดุของเทศบาลและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการดังนี้
2.1 ฝ่ายบริหารงานคลัง
2.1.1 งานพัสดุและทรัพย์สิน
2.1.2 .2งานการเงินและบัญชี
2.1.3 งานระเบียบการคลัง
2.1.4 งานสถิติการคลัง
2.1.5 งานธุรการกอง
2.1.6 งานสารบรรณกอง
2.2 ฝ่ายจัดเก็บรายได้
2.2.1 งานพัฒนารายได้
2.2.2 งานผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์
2.3 ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
2.3.1 งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
2.3.2 งานบริการข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
2.4 ฝ่ายงานพัสดุ
1) จัดทำระบบบริหารงานพัสดุ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
2) ดำเนินการจัดหาพัสดุโดยวิธีต่างๆ เพื่อให้ได้พัสดุเป็นไปตามแผนการจัดซื้อจัดจ้าง และถูกต้อง ตามระเบียบ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
3) ดำเนินการจัดทำบัญชีพัสดุ การจัดทำทะเบียนการเบิกจ่าย การควบคุมพัสดุ การจัดทำรายงานประจำปี การตรวจสอบรายงานประจำปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบริหารงานพัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
4) ดำเนินการจัดการด้านคลังพัสดุ เช่น การลงทะเบียน การรับ - จ่าย การเก็บรักษา เพื่อให้การบริหารงานพัสดุมีประสิทธิภาพ
5) ดำเนินการจัดทำทะเบียนคุมสินทรัพย์ทุกประเภท เพื่อใช้ในการควบคุมและตรวจสอบรายการทรัพย์สิน
6) ดำเนินการบริหารสินทรัพย์ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการคำนวณค่าเสื่อมราคา และต้นทุนผลผลิต
7) ตรวจสอบ จัดทำข้อผูกพันและดำเนินการบริหารสัญญา เพื่อให้การบริหารสัญญาถูกต้อง ครบถ้วนตามระยะเวลาเป็นไปตามข้อกำหนดเงื่อนไขของสัญญาและใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง
8) ดำเนินการจำหน่ายพัสดุที่หมดความจำเป็น หมดอายุการใช้งานและที่เสื่อมสภาพเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ ลดภาระการใช้จ่ายในการเก็บรักษาและสามารถวางแผนจัดหาพัสดุทดแทน
3. กองช่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูล ทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้าง งานควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติงานก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติติดตามควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกลการควบคุมการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะงานเกี่ยวกับแผนงาน ควบคุมเก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องและที่รับมอบหมายแบ่งส่วนราชการภายใน 2 ฝ่าย
3.1. ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง
3.1.1 งานวิศวกรรม
3.1.2 งานสถาปัตยกรรม
3.1.3 งานผังเมือง
2. ฝ่ายการโยธา
2.1 งานสาธารณูปโภค
2.2 งานสวนสาธารณะ
2.3 งานศูนย์เครื่องจักรกล
2.4 งานจัดสถานที่และการไฟฟ้าสาธารณะ
2.5 งานควบคุมและตรวจสอบการบำบัดน้ำเสีย
2.6 งานธุรการกอง
2.7 งานสารบรรณกอง
4. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
มีหน้าที่เกี่ยวกับ สาธารณสุขชุมชน ส่งเสริมสุขภาพอนามัย งานป้องกันโรคติดต่อ งานสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม และงานอื่นๆเกี่ยวกับการให้บริการด้านสาธารณสุข งานสัตว์แพทย์ ศูนย์บริหารสาธารณสุข และงานทันตสาธารณสุข งานธุรการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง แบ่งส่วนราชการภายในดังนี้
4.1. ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
4.1.1 งานสุขาภิบาลอนามัยและสิ่งแวดล้อม
4.1.2 งานวางแผนสาธารณสุข
4.1.3 งานศูนย์บริการสาธารณสุข
4.1.4 งานรักษาความสะอาด
4.1.5 งานเผยแพร่และฝึกอบรม
4.1.6 งานส่งเสริมสุขภาพ
4.1.7 งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
4.1.8 งานสัตวแพทย์
4.1.9 งานธุรการกอง
4.1.10 งานสารบรรณกอง
5. กองการศึกษา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา ให้คำปรึกษาและประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านการศึกษาในระดับเด็กก่อนปฐมวัย ประสานงานด้านงานศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ให้แก่เยาวชน ตลอดจนส่งเสริมกิจกรรมด้านงานกีฬาและนันทนาการแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนภายในเขตเทศบาล แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย 5 แผนงาน คือ
5.1. ฝ่ายบริหารการศึกษา ประกอบด้วย
5.1.1 งานบริหารทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษา
5.1.2 งานระดับก่อนวัยเรียนและประถมศึกษา
5.1.3 งานไม่กำหนดระดับ
5.2. ฝ่ายส่งเสริมศาสนา วัฒนธรรมนันทนาการ ประกอบด้วย
5.2.1 งานกีฬาและนันทนาการ
5.2.2 งานศาสนาวัฒนธรรมท้องถิ่น